เมนู

โธวิตฺวา เอกมนฺเต นิสีทถ ความว่า เพราะตนเองกลับจากบิณฑบาตในเวลา
ปัจฉาภัต แสดงวัตรแด่อาจารย์และอุปัชฌาย์แล้ว ล้างเท้าทั้งสองนั่งในที่ลับ
ในที่พักกลางวันของตน บรรลุเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์ ฉะนั้น พระวิสาขา-
เถรีเมื่อประกอบแม้คนอื่น ๆ เข้าไว้ในประโยชน์นั้น จึงได้กล่าวบทนี้.
จบ อรรถกถาวิสาขาเถรีคาถา

14. สุมนาเถรีคาถา


[415] ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่า
เกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จัดเป็นผู้
สงบระงับเที่ยวไป.

จบ สุมนาเถรีคาถา

14. อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา


คาถาว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับพระเถรี
ชื่อสุมนา.
เรื่องของพระเถรีชื่อสุมนานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่อติสสา
ความย่อว่า พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีแสดงพระองค์เหมือนประทับนั่งอยู่
ต่อหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า
ท่านเห็นธาตุทั้งหลายว่าเป็นทุกข์แล้ว อย่า
เกิดอีก ท่านสำรอกความพอใจในภพแล้ว จักเป็นผู้
สงบระงับเที่ยวไป.

พระเถรีนั้น ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ความว่า เห็น
ธาตุมีจักษุเป็นต้นที่นับเนื่องด้วยสันตติ และธาตุแม้อื่น ๆ ด้วยญาณจักษุว่า
เป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้น เสื่อมไป และบีบคั้นเป็นต้น. บทว่า มา ชาตึ
ปุนราคมิ
ความว่า อย่าเข้าถึงชาติ คือภพใหม่ต่อไปอีก. บทว่า ภเว ฉนฺทํ
วิราเชตฺวา
ความว่า ละฉันทะคือตัณหาในภพทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น
ด้วยมรรคกล่าวคือวิราคะ. บทว่า อุปสนฺตา จริสฺสสิ ความว่า จักเป็นผู้ดับ
เพราะละกิเลสได้ทั้งหมดอยู่.
อนึ่งในคาถานี้ ท่านแสดงวิปัสสนาโดยหัวข้อของทุกขานุปัสสนา ด้วย
บทนี้ว่า ธาตุโย ทุกฺขโต ทิสฺวา ดังนี้. แสดงมรรค ด้วยบทนี้ว่า ภเว ฉนฺทํ
วิราเชตฺวา
ดังนี้. แสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า อนุปสนฺตา
จริสฺสสิ
ดังนี้. แสดงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ด้วยบทนี้ว่า มา ชาตึ
ปุนราคมิ
ดังนี้ บัณฑิตพึงเห็นดังนี้แล.
จบ อรรถกถาสุมนาเถรีคาถา

15. อุตตราเถรีคาถา


[416] เราเป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และใจ
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเย็น
ดับสนิทแล้ว.

จบ อุตตราเถรีคาถา

15. อรรถกถาอุตตราเถรีคาถา


คาถาว่า กาเยน สํวุตา อาสึ เป็นต้น เป็นคาถาของพระเถรีชื่อ
อุตตรา.